กฏหมายว่าด้วยการดื่มสุราขณะขับขี่ยานพาหนะ

  • พิมพ์

 

dontdrink

 

ประเทศไทยมีการดื่มสุราสูงเป็นอันดับที่40ของโลกและเป็นอันดับที่3ของเอเชียโดยคนที่มีอายุมากกว่า15ปีขึ้นไปดื่มสุราจำนวน17ล้านคนซึ่งคิดเป็นร้อยละ32ของประชากรในช่วงอายุนี้ทั้งหมด53.9ล้านคนนอกจากนี้การดื่มสุรายังเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรร้อยละ90โดยมีจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ26,000คนต่อปีซึ่งการดื่มสุราและก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็ถือเป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลแต่ละรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและได้ดำเนินการแก้ไขปัญหามาโดยตลอดสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเป็นผลมาจากการขับรถในขณะที่เมาสุราซึ่งการขับรถในขณะที่มีอาการเมาสุราถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43(2)ที่กำหนดมิให้ผู้ขับขี่รถในขณะเมาสุราโดยคำว่า“รถ”ตามกฎหมายดังกล่าวหมายถึงยานพาหนะทางบกทุกชนิดยกเว้นรถรางและรถไฟส่วนอาการเมาสุรานั้นหากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน๕๐มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ให้ถือว่าเมาสุรา(กฎกระทรวงฉบับที่16(พ.ศ.2537)สำหรับการตรวจสอบผู้ขับขี่รถว่ามีอาการเมาสุราหรือไม่นั้น หากเจ้าหน้าที่ตำรวจสงสัยว่าผู้ขับขี่รถมีอาการเมาสุราก็มีอำนาจในการสั่งให้หยุดรถและสั่งให้มีการทดสอบได้และหากผู้ขับขี่รถมีการการเมาสุราก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร(ไม่สามารถเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายได้)โดยมีอัตราโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับตั้งแต่5,000-20,000บาทหรือทั้งจําทั้งปรับและให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ของผู้นั้นมีกําหนดไม่น้อยกว่าหกเดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่นอกจากความผิดในเรื่องของขับขี่รถในขณะเมาสุราหรือการเมาแล้วขับนั้นต่อมาได้มีการผลักดันกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปี2551เพื่อกำหนดมาตราการในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยได้มีการประกาศกำหนดห้ามขายหรือดื่มสุราในสถานที่หรือในริเวณของรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐยกเว้นบริเวณที่ถูกจัดไว้เป็นร้านค้าหรือสโมสรหรือเป็นการจัดเลี้ยงตามประเพณีและห้ามดื่มสุราในขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถด้วยโดยผู้ฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้จำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกิน10,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับผู้ที่ดื่มสุราและมีความจำเป็นต้องขับรถกลับบ้านนั้นควรมีความระมัดระวังการดื่มให้มากเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายผู้ดื่มสุราควรระวังการดื่มโดยควรรู้ว่าสุราแต่ละประเภทมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกันเช่นเบียร์หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์5ดีกรี ปริมาณ1กระป๋อง(330มิลลิลิตร)จะมีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดน้อยกว่า50มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์หรือปริมาณการดื่มเบียร์1ขวด(630มิลลิลิตร)หรือเบียร์2กระป๋องระดับแอลกอฮอล์ในเลือดอาจมากกว่าหรือน้อยกว่า50มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ก็ได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้ดื่มเป็นสำคัญหากผู้ดื่มมีน้ำหนักน้อยปริมาณแอลกอฮอล์จะมีมากกว่าคนที่น้ำหนักตัวมากทั้งนี้ใน1ชั่วโมงร่างกายจะสามารถกำจัดแอลกอฮอล์ได้ประมาณ15มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะมีแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปาก15-20นาทีดังนั้นหากถ้ามีการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์จากลมหายใจจะมีผลทำให้ระดับแอลกอฮอล์สูงกว่าความเป็นจริงการบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าจะสามารถกำจัดแอลกอฮอล์ที่ค้างอยู่ในปากได้ระดับหนึ่งเพื่อมิให้ผิดกฎหมาย

 

 Witsava