ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์มีโทษเท่ากับเมาแล้วขับ
- รายละเอียด
- หมวด: เครื่องวัดแอลกอฮอล์
- เขียนโดย Witsava Administrator
- ฮิต: 11017
ไม่ยอมเป่าแอลกอฮอล์มีโทษเท่ากับเมาแล้วขับ
อ้างอิงจากศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร-บก.02
พ.ร.บ.จราจรทางบก(ฉบับที่10)พ.ศ.2557เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.จราจรทางบก2522มีผลบังคับใช้แล้วโดยมีการแก้ไข2ประเด็นหลักสำคัญๆดังนี้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา142เกี่ยวกับกำหนดข้อสันนิษฐานในกรณีผู้ที่ขับขี่(ผู้ใช้รถ)ไม่ยอมให้ความร่วมมือในการทดสอบว่าความสามารถในการขับขี่หย่อนลงเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมใหม่จะให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าหน้าที่ผู้ที่สั่งให้ผู้ขับขี่หยุดรถเมื่อเห็นว่ารถนั้นมีสภาพไม่ถูกต้องตามที่บัญญัติที่วางไว้และในกรณีที่ผู้ขับขี่มีพฤติการณ์ที่เชื่อว่าดื่มแอลกอฮอล์หรือขับรถในขณะหย่อนความสามารถเพื่อตรวจสอบว่าผู้ขับขี่นั้นเมาสุราหรือไม่?กฎหมายใหม่ระบุอำนาจเจ้าพนักงานจราจรว่าสามารถสั่งให้ผู้ขับขี่ขับรถเข้าช่องทางที่มีกรวยวางตั้งไว้(เข้าด่าน)ให้เปิดกระจกเพื่อให้เจ้าหน้าที่ยื่นเครื่องวัดแอลกอฮอล์เข้าไปในรถได้หรือเรียกให้ผู้ขับขี่เป่าเครื่องวัดแอลกอฮอล์รวมทั้งสั่งให้ลงจากรถเพื่อดูว่าร่างกายสามารถรักษาสมดุลของการเดินได้หรือไม่หากผู้ขับขี่ไม่ยอมให้ทดสอบให้เจ้าหน้าที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเมาสุราเจ้าหน้าที่ดำเนินคดีฐานขับรถขณะเมาสุราได้สำหรับบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืนตามกฎหมายข้อใหม่นี้กรณีผู้ขับขี่ปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานในการทดสอบ-ตรวจวัดแอลกอฮอล์กฏหมายเดิมคือปรับไม่เกิน1,000บาทกรณียินยอมให้ทดสอบแต่พบว่าเมาสุราขณะขับรถระวางโทษจำคุกไม่เกิน1ปีและปรับตั้งแต่5,000-10,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับและให้ศาลยกเลิกใบอนุญาติขับขี่ยานพาหนะ(ใบขับขี่)แต่กฏหมายใหม่นี้ได้เพิ่มความเข้มงวดในการเอาผิดผู้ที่ไม่ยอมให้ความร่วมมือหรือไม่รับการทดสอบว่ามีเหตุเชื่อว่าเมาไว้ก่อนและมีบทลงโทษคือจำคุกไม่เกิน1ปีและปรับตั้งแต่10,000-20,000บาทหรือทั้งจำทั้งปรับโดยผู้ที่ถูกกล่าวหาสามารถหาพยานไปหักล้างในศาลได้