ความเป็นมาของเครื่องวัดแอลกอฮอล์

ความเป็นมาของเครื่องวัดแอลกอฮอล์
 

การศึกษาวิธีที่จะวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายมีมากว่า 150 แล้ว ชาวอังกฤษ พบว่า แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปในร่างกายจะสามารถพบบางส่วนได้ในลมหายใจและปัสสาวะ มีนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสคนนึงชื่อ Nielous (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1910) ได้ทำการศึกษาพบว่า แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไปในร่างกายจะพบในลมหายใจ ปัสสาวะ น้ำลาย และเหงื่อ ที่สามารถตรวจพบได้

 ในระยะแรกการวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ใช้วิธีเก็บ ตัวอย่างจากเลือด หรือ ปัสสาวะจากผู้ต้องสงสัย แต่มีปัญหาคือต้องวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญทราบผลช้า และที่สำคัญคือ ไม่สามารถสื่อไปถึงปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในร่างกาย ดังนั้น จึงได้มีการนำวิธีการวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจในช่วงปี 1930-1953 ได้มีการคิดค้นเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการเป่าลมหายใจและได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดเป็นรุ่นๆการพัฒนาเครื่องวัดแอลกอฮอล์นี้เพื่อออกแบบให้เครื่องสามารถวัดได้เฉพาะแอลกอฮอล์ชนิดที่เป็นEthylอย่างเดียว(เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ที่มนุษย์เราดื่มจะผสมแอลกอฮอล์ชนิดEthyl)โดยไม่ถูกสอดแทรกโดยสารอื่นเพื่อจะให้การวิเคราะห์ปริมาณลมหายใจใกล้กับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมากที่สุด

 

เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ แบ่งตามลักษณะของเครื่องได้เป็นสองประเภท คือ
1.แบบพกพาไปไหนมาไหนได้
2.แบบเครื่องวัดมาตรฐาน

ถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 
1.เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง (screening) 
2.เครื่องเป่าแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจยืนยันผล (Evidential)

เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ แบบตรวจคัดกรอง เป็นเครื่องที่ใช้ในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยการเป่าลมเข้าเครื่องผลที่แสดงจะเป็นตัวหนังสือว่าเกินหรือไม่เกินค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้

เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์แบบตรวจยืนยันผล เป็นเครื่องที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ผลที่ได้จะแสดงเป็นตัวเลขว่ามีปริมาณในหน่วย mg/100ml เช่น 50 mg/100ml (แสดงว่า ในเลือด 100 มิลลิลิตรมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ 50 มิลลิกรัม) เป็นต้น 

การทำงานของเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ

สำหรับการทำงานของเครื่องวัดระดับแอลกอลฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจนั้นในการตรวจจะให้ผู้ตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องซึ่งมีตัวตรวจจับแอลกอฮอล์ (Alcohol Detector) ตรวจจับเมื่อได้รับแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะถูกแปลค่าให้รายงานออกมาที่หน้าปัดของเครื่องหรือจอแสดงผลหน่วยของแอลกอฮอล์ในเลือดคือค่า"BAC"อาศัยการคำนวณค่าจากค่าความสัมพันธ์ของสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ

การที่เครื่องวัดฯจะวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจได้ถูกต้องต้องใช้ลมหายใจจากส่วนลึกของปอดผู้ผลิตเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ได้ออกแบบให้เครื่องวัดฯ เมื่อถูกเป่าลมหายใจเข้าเครื่องต่อเนื่องไปได้ระยะหนึ่งความแรงในการเป่าจะลดลงสูบไฟฟ้าในเครื่องฯจะเก็บตัวอย่างลมหายใจประมาณ 1ซีซี แบบอัตโนมัติในกรณีที่เครื่องไม่ได้ออกแบบให้เก็บตัวอย่างลมหายใจแบบอัตโนมัติการตรวจวัดต้องให้ผู้ถูกตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องอย่างต่อเนื่อง และผู้ที่ทำการตรวจวัด จะนับ 1 ถึง 10 ในใจอย่างช้าๆ เมื่อนับครบแล้วจะแสดงผลเป็นค่าแอลกอฮอล์

ทำอย่างไรจึงจะลดโอกาสที่จะถูกตรวจสอบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจสูง 

"การที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ตั้งแต่แก้วแรก จะเป็นการปฏิบัติตัวที่ดีที่สุด" อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะที่กลัวว่าจะถูกตรวจว่ามีปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ควรจะทำดังนี้

1. งดการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 20 นาที ก่อนการขับขี่หรือควบคุมยานพาหนะ 


2. อย่างน้อยใน 5 นาทีที่ก่อนการถูกตรวจวัด ไม่ควรสูบบุหรี่ เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะสะสมในเครื่องวัดทำให้เครื่องเสียได้และกลิ่นบุหรี่ยังอาจเป็นที่น่ารังเกียจของผู้ที่จะใช้ต่อไป


3. หากถูกเรียกเพื่อตรวจวัดลมหายใจ ก่อนท่านจะเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจจะ ต้องแน่ใจว่า หลอดเป่าที่ใช้ต้องเป็นของใหม่ที่ได้ทำให้ปลอดเชื้อ (Sterilization) แล้ว


ในกรณีที่ถูกตรวจแล้วพบว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจเกิน 50 mg% หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่มากนัก และผู้ที่ถูกตรวจไม่แน่ใจในผลการตรวจวัดฯ หรือคิดว่าตัวเองไม่เมาเหล้าถึงขนาดนั้น ผู้ที่ถูกตรวจมีสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่จะร้องขอการตรวจพิสูจน์ได้โดยวิธีการตรวจจากปัสสาวะ และตรวจวัดจากเลือด โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจวัด ซึ่งการตรวจวัดนี้จะกระทำภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมาย 

 

 

 

 

Witsava

 

Share